วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเทศอินโดนิเซีย


สมาชิกกลุ่ม

1. นายมิตร           ศราชัยนันทกุล    เลขที่ 14
2. นายอิสรภาพ        เขาทอง             เลขที่ 19
3. นายกษิดิ์เดช   เพลินอักษร          เลขที่ี 20
4. นายก้องเกียรติ รสหอม                เลขที่ 22
5. นายวิชญะ        วัฒนะ                  เลขที่ 30
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/8

เสนอ
อาจารย์วรนุช    เเสงจันทร์

ภาคเรียนที่ 1/2555
โรงเรียนชลราษฎรอำรุง  จังหวัดชลบุรี

ภูมิประเทศของอินโดนิเซีย




ภูมิประเทศ 


ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟ และมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศของอินโดนิเซีย


ภูมิอากาศ




ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูง มากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้ รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

เศรษฐกิจของอินโดนิเซีย




เศรษฐกิจ



            อินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งกับอุตสาหกรรมของปรเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2523-2527 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรฒเพื่อการผลิตเพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินคาอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าส่งออก ทั้งหมด

การเมืองการปกครองของอินโดนิเซีย



การเมืองการปกครอง


            อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2488 และประกาศหลักปัญจศีล ดร. ซูการ์โน  ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ และมีชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกชารอย่างสมบูรณ์ พ.ศ.2492
            รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2488 กำหนดให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ (United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล
            เมื่อดัทซ์โอนอำนาจอธิปไตยให้อินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2492 อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี พ.ศ.2493 อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งปรเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับแรกต่อมาในปี พ.ศ.2502 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2488 มาใช้ใหม่
            ซูการ์โน วางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ศาสนา


ศาสนา

อิสลาม :  คือศาสนาที่คนอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือ ประชากรประมาน 143ล้านคน หรือ86.9% ของชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คริสต์ : ถึงแม้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกและโปรเตสแตนท์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 1980 แต่ก็ยัีงมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกัีบศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในมะลุุส ทางตอนใต้ของสุลาเวสี และติมอร์ในศตวรรษที่ 16 โดยนักบวชชาวโปรตุเกส

ฮินดู : ชาวอินโดนีเซียบนเกาะบาหลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

พุทธ : มีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนน้่อยในอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่ทีเชื้อสายจีน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สำคัญในอินโดนีเซียก่อนการมาถึงของอิสลาม วัดบาราบุดูร์ในชวากลาง ที่เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ก็เป็นวัดของชาวพุทธ

อาหารประจำชาติอินโดนีเซีย




อาหารประจำชาติอินโดนีเซีย


กาโด กาโด(GadoGado) อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียประกอบไปด้วยผักและธัญพืชหลากชนิด เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้มสุก รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ใกล้เคียงกับสลัดแขกของบ้านเราสะเต๊ะเป็นอาหารอย่างหนึ่งทืทำจากเนื้อที่หั่นบางๆๆหรือหั่นเป็นก้อน อาจเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปลาฯลฯ เสียบด้วยไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส  มีรสจัดสะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจาก เกาะชวาหรือเกาะสุมาตรา แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆด้วย เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอานานิคมของตน

การแต่งกายของอินโดนิเซีย



การแต่งกายของอินโดนีเซีย


ชาวอินโดนีเซียแต่งกายแยกตามชายหญิงดังนี้

ผู้หญิง 
สวมเสื้อแขนยาวพอดี มีคอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็น ลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางดอกบ้าง ใช้ผ้ายาวๆๆ คล้องคอ เช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อชาวมาเลเซียจะเป็นคอยูและเสื้อยาว

ผู้ชาย 
แต่งกายชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ


การแต่งกายของชาวเกาะมีลักษณะต่างกันดังนี้

1.อัตเจ(สุมาตราเหนือ) เป็นพิธีการ ใช้เสื้อสีแดง กางเกงยาวสีดำ มีโสร่งนุ่งทับอีกทีหนึ่ง รัดเข็มขัด

2.ตาปานะลี(สุมาตรากลาง) สวมเสื้อแขนยาว บายกูรุง

3.มินังกาโน(สุมาตราตะวันตก) สวมเสื้อบางยุกูรุง แขนยาวนุ่งโสร่ง มีสไบเฉียง ใช้ผ้า โพกศรีษะคล้ายรูปกระบือ

4.ปาเล็มปัง(สุมาตราใต้) เหมือนบายุกูรุง

5.ปันยาร์(กาลิมันตัน)ในพิธีต่างๆ ผ้านุ่งสีแดง เสื้อแขนยาว เสื้อ อยุ่ในโสร่ง มีเครื่องประดับพชร นิล จินดา

6.เมอนาโด(ซูลาเวลีเหนือ) ส่วนมากนับถือคริสต์ต้องไปโบสถ์เสมอจึงมักสวมเสื้อสีขาวปักดอกที่ชายเสื้อ

7.มากาซาร์(ซุลาเวลีใต้) เรียกชุดว่า มายุโบดตะ สาวอินโดนีเสียนิยมกันมาก วัยรุ่นนิยมสีชมพูและสีแดง ผู้ใหญ่ใช้สีเขียวมีแถบทอง

8.อัมบอน(มาลูก) เหมือนชุดสุมาตรแต่สีขาว

9.ติมอร์ ตามประเพณีต้องสวมโสร่ง ห่มสไบเฉียง มีลายเส้นสีทอง และ เงิน

10. บาหลี สวมสโร่ง มีเครื่องประดับศรีษะเป็นคอกลั่นทม

11.อีเรียนชยา  แต่งกายด้วยสีเหลือง ผ้านุ่งสีเขียว มีขนนกบนหัว